วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเลือกตั้งนายกของประเทศมาเลเซีย

นายกของประเทศมาเลเซีย




ประเทศมาเลเซียจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2556 หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3เมษายน 2556 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐ 12 จาก 13 รัฐ (ยกเว้นรัฐซาราวัก) หลังธรรมเนียมปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ให้จัดการเลือกตั้งเหล่านี้พร้อมกันประเทศมาเลเซียจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 5พฤษภาคม 2556 หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐ 12 จาก 13 รัฐ (ยกเว้นรัฐซาราวัก) หลังธรรมเนียมปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ให้จัดการเลือกตั้งเหล่านี้พร้อมกัน

นายกรัฐมนตรีนาจิ๊บ ราซัค ผู้นำพรรคแนวร่วมแห่งชาติวิงวอนฝ่ายค้านยอมีรับผลการเลือกตั้งเดินหน้าสร้างความปรองดอง หลังคว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้ง
นายกรัฐมนตรีนาจิ๊บวิงวอนให้พรรคร่วมฝ่ายค้านยอมรับผลการเลือกตั้งเพื่อนำพาประเทศไปสู่ความปรองดองและแสดงให้โลกเห็นว่ามาเลเซียมีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำพรรคร่วมฝ่ายค้านปากาตัน รักยัต ปฏิเสธผลการเลือกตั้ง โดยระบุว่ามีการทุจริตเลือกตั้งเกิดขึ้นมากมายกว่าหมื่นคดี ซึ่งคณะกรรมการเลือกตั้งไม่สามารถจัดการได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่หมึกทาบนนิ้วเพื่อแสดงว่าใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้วสามารถลบออกได้ง่ายทั้งที่ต้องติดนานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือการนำคนต่างชาติ จากบังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียมาสวมสิทธิ์เลือกตั้ง นอกจากนี้ตามโซเชี่ยลมีเดียของมาเลเซียก็การเปิดโปงการทุจริตในรูปแบบต่างๆมาเผยแพร่ อาทิวีดีโอที่แสดงให้เห็นว่ามีคนต่างชาติได้รับสัญชาติโดยวิธีที่น่าสงสัยและถูกส่งตัวไปยังหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งหลังผลการเลือกตั้งออกมาผู้สนับสนุนฝ่ายค้านหลายพันคนได้เปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในเฟซบุคเป็นสีดำแสดงถึงความผิดหวัง ขณะที่หลายฝ่ายจับตาอนาคตทางการเมืองของอันวาร์ว่าจะเป็นอย่างไรหลังการเลือกตั้งครั้งนี้

อย่างไรก็ตามฝ่ายรัฐบาลและคณะกรรมการเลือกตั้ง ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านและกล่าวว่ามีผู้สนับสนุนของของพรรครัฐบาลได้จ่ายค่าเดินทางให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่อยู่ต่างประเทศบินกลับมาลงคะแนน-การเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่มีประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งถึง 10 ล้านคน คิดเป็น 80 เปอร์เซนต์ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 13 ล้านคน และแม้ว่าพรรคแนวร่วมแห่งชาติจะได้ที่นั่งในรัฐสภาไป 133 ที่นั่ง แต่ก็ถือว่าเป็นผลงานที่เลวร้ายที่สุดของพรรคร่วมรัฐบาล เนื่องที่นั่งลดลงจากเดิม 140 ที่นั่งจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2008 ส่วนพรรคร่วมฝ่ายค้าน แม้ว่าจะพ่ายแพ้ในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ก็ได้ที่นั่ง 89 ที่นั่งเพิ่มขึ้นจากเดิม 7 ที่นั่ง

ขณะที่ตลาดหุ้นมาเลเซียขานรับผลการเลือกตั้งทะยานขึ้นสูงสุดเป็นยประวัติการร์ 6.8 เปอร์เซนต์ในการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่ค่าเงินริงกิตแข็งค่าขึ้นในรอบ 10 เดือน

ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซีย ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (5 พ.ค.) ปรากฏว่า หลังปิดหีบลงคะแนนผ่านไปประมาณ 9ชั่วโมง และนับบัตรได้กว่า 2 ใน 3 ของทั้งหมด พรรคร่วมรัฐบาลในนาม แนวร่วมแห่งชาตินำโดยพรรคอัมโนของ นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค คว้าชัยชนะได้สำเร็จ เมื่อได้ ส.ส. เข้าสู่รัฐสภาแล้วอย่างน้อย 127 ที่นั่ง ครองเสียงข้างมากจากทั้งหมดในรัฐสภา 222 ที่นั่ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยเอกเทศ ขณะที่แนวร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรค นำโดยนายอันวาร์ อิบราฮิม ได้ ส.ส. แล้ว 77 ที่นั่ง
นับเป็นชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไป 13 ครั้งติดต่อกัน ของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งผูกขาดครองอำนาจเป็นรัฐบาลมาตลอด ตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2500 และเป็นชัยชนะที่ค่อนข้างผิดความคาดหมายก่อนหน้านี้ ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่สุดจากฝ่ายค้าน
เจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติมาเลเซีย เผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนราว 13 ล้านคน ตัวเลขผู้ที่ออกไปใช้สิทธิสูงถึง 80 % หรือกว่า 10 ล้านคน โดยการลงคะแนนมีขึ้นในหน่วยเลือกตั้งกว่า 8,000 หน่วยทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 08.00 น. – 17.00 น.
บรรดาผู้สนับสนุนแนวร่วมฝ่ายค้านต่างแสดงออกถึงความรู้สึกผิดหวังและขมขื่นกับผลการเลือกตั้งที่ออกมา เนื่องจากพวกเขาคาดหมายไว้สูงว่าการเลือกตั้งคราวนี้จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ในประเทศแต่ผลลัพธ์คือ พวกเขาได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่แล้วในปี 2008 เพียง 7 ที่นั่งเท่านั้น
ขณะที่ในการเลือกตั้งคราวนี้ ผู้มีสิทธิออกเสียงมากมายร้องเรียนว่า มาตรการสำคัญประการหนึ่งซึ่งทางการมาเลเซียระบุว่าเป็นเครื่องรับประกันว่าจะไม่มีการโกงการเลือกตั้ง อันได้แก่การให้ผู้ที่ใช้สิทธิแล้วพิมพ์นิ้วมือด้วยหมึกที่ไม่สามารถลบได้เพื่อป้องกันการเวียนเทียนลงคะแนนนั้น แท้จริงแล้วหมึกดังกล่าวสามารถใช้นิ้วลบออกอย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังมีคลิปวิดีโอ ภาพถ่าย และข้อมูลจากผู้เห็นเหตุการณ์จำนวนมาก ที่ยืนยันผ่านโลกออนไลน์ว่า พบผู้มีสิทธิออกเสียงชาวต่างชาติในคูหาเลือกตั้ง ซึ่งตรงกับที่อันวาร์ เคยกล่าวหาก่อนวันเลือกตั้งไม่นานว่ารัฐบาลขนผู้ต้องสงสัยหลายหมื่นคนซึ่งอาจเป็นชาวต่างชาติไปยังเขตเลือกตั้งหลายแห่งทั่วประเทศ
อันวาร์วัย 65 ปีซึ่งเคยมีตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองเป็นถึงรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในระหว่างปี 1993-1998 และถูกวางตัวเป็นทายาททางการเมืองของ มหาเธร์ โมฮัมหมัด กล่าวต่อกลุ่มผู้สนับสนุนที่เข้าร่วมชุมนุมเมื่อคืนวันพุธ (8) ณ สนามกีฬาแห่งหนึ่งนอกกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยยืนยันจะเดินหน้าคัดค้านผลการเลือกตั้งใน 30 เขต ที่ผู้สมัครของพรรคร่วมฝ่ายค้านปากาตัน รักยัตทั้ง 3 พรรค ประสบความพ่ายแพ้ต่อผู้สมัครของฝ่ายรัฐบาลแบบน่ากังขา โดยเขามั่นใจว่าการต่อสู้ตามแนวทางนี้มากพอที่จะก่อให้เกิดการพลิกผันของผลการเลือกตั้งได้

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดาวเคราะห์แคระ

ดาวเคราะห์แคระ(Dwarf  Planets)




          ดาวเคราะห์แคระ หมายถึง  เทห์วัตถุที่มีสมบัติครบถ้วน ดังนี้  (ก)โคจรรอบดวงอาทิตย์   (ข)มีมวลมากพอที่จะแรงโน้มถ่วงของดาว สามารถเอาชนะความแข็งของเนื้อดาวส่งผลให้ดาวอยู่ในสภาวไฮโดรสแตติก (ค)ไม่สามารถกวาดเทห์วัตถุในบริเวณข้างเคียงไปได้ (ง)ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์อื่นๆ



  ดาวพลูโต(Pluto)
   
    ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไปในบริเวณแถบไคเปอร์มีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์7ดวงในระบบสุริยะ (ดวงจันทร์ของโลก ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต ไททัน และไทรต้น)ดาวพลูโตมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร มีดวงจันทร์บริวาร 5ดวง ได้แก่ คารอน(มีขนาดประมาณ 1/5 ของดาวพลูโต)นิกซ์ ไฮดรา (สองดวงนี้ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2548)S/2011P1(P4,ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2554) และS/2012 P1(P5,ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2555)และเป็นดาวพเนจรโดดเดี่ยว อยู่ที่ริมรอบระบบสุริยะ แม้นักดาราศาสตร์กำลังคิดค้นว่า น่าจะมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งอยู่ถัดไปก็ตามก็ยังไปพบ พลูโตอาจจะมีขนาดพอๆกับดาวพุธเท่านั้น แต่เยือกเย็นมาก และเป็นหินเหมือนดาวเคราะห์ชั้นใน ไม่เหมือนเพื่อนๆใกล้เคียงซึ่งเป็นก๊าซยักษ์ใหญ่อย่างดาวพฤหัส พลูโตใช้เวลา 248 ปี โคจรรอบดวงอาทิตย์ และบางครั้งก็ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเนปจูน ดาวพลูโตอาจจะเคยเป็นดวงจันทร์หรือบริวารของเนปจูน มาก่อนก็เป็นได้


Ceres optimized.jpg

ดาวซีเรส(Ceres)

          ซีเรส(Ceres) หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า 1ซีรีส เป็นดาวเคราะห์น้อยที่ดวงใหญ่ที่สุดและเป็นดาวเคราะห์แคระดวงเดียวในระบบสุริยะชั้นใน เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบ โดย จูเซปเป ปีอาซซี  นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1801 ตั้งตามชื่อซีรีส เทพีโรมันแห่งการปลูกพืช เก็บเกี่ยวและความรักอย่างมารดา
          ซีรีสมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 950 กิโลเมตรและประกอบด้วยมวลหนึ่งในสามของมวลทั้งหมดใน
แถบดาวเคราะห์น้อย  พื้นผิวซีรีสอาจเป็นส่วนผสมของน้ำแข็งและธาตุที่ถูกไฮเดรต เช่น คาร์บอเนตและดินเหนียว ซีรีสจำแนกเป็นแก่นหินและแมนเทิลน้ำแข็ง และอาจมีมหาสมุทรน้ำในสถานะของเหลวกักเก็บไว้ใต้พื้นผิว
           จากโลก โชติมาตรปรากฎ ของซีรีสอยู่ระหว่าง 6.7 ถึง 9.3 ดังนั้นแม้ในช่วงสว่างที่สุดก็ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า ยกเว้นท้องฟ้าที่มืดอย่างยิ่ง วันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2007 นาซาส่งยานสำรวจอวกาศดวอ์นไปสำรวจเวสตา (2011-2012) และซีรีส (2015)
         

                                         


          ดาว UB313

       วันที่ 29 กรกฎาคม 2548 ทีมนักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ประกาศการค้นพบวัตถุขนาดใหญ่ในระบบสุริยะ ใช้ชื่อเป็นรหัสว่า 2003 ยูบี 313 (2003 UB313) ผลการสังเกตการณ์เบื้องต้นชี้ว่าวัตถุนี้มีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโต และอาจถือเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 10 อย่างไรก็ตาม สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลยังไม่ได้ประกาศรับรองสถานภาพของ 2003 ยูบี 313 เนื่องจากยังมีความคิดเห็นขัดแย้งกันอยู่ว่าจะนิยาม "ดาวเคราะห์" ว่าอย่างไร 
        ขณะนี้ 2003 ยูบี 313 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นระยะทาง 97 หน่วยดาราศาสตร์ (1 หน่วยดาราศาสตร์ คือ ระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์) โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 557 ปี และระนาบวงโคจรเอียงทำมุม 44 องศากับระนาบวงโคจรโลก ขณะนี้ถือเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object) หรือวัตถุทีเอ็นโอ (Trans-Neptunian Object) ซึ่งหมายถึงวัตถุที่อยู่ไกลเลยจากวงโคจรของดาวเนปจูน
ไมเคิล บราวน์, ชาด ทรูจิลโล และ เดวิด เรบิโนวิตซ์ ค้นพบ 2003 ยูบี 313 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 จากภาพถ่ายท้องฟ้าที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2546 พวกเขาประกาศการค้นพบในวันที่ 29 กรกฎาคม 2548 พร้อมกับวัตถุแถบไคเปอร์อีก 2 ดวง คือ 2003EL61  และ 2003FY9     ทีมนักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ได้ดำเนินการค้นหาวัตถุที่อยู่รอบนอกระบบสุริยะมาเป็นเวลาหลายปี และมีส่วนในการค้นพบดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในแถบไคเปอร์ 2 ดวง คือ ควาอัวร์ (50000 Quaoar) และ เซดนา (90377 Sedna) โดยสำรวจท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์ซามูเอล ออสชิน (Samuel Oschin Telescope) ขนาด 48 นิ้ว ในหอดูดาวพาโลมาร์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนหน้านี้ พวกเขาวางแผนจะเก็บข้อมูลให้ได้มากกว่านี้ก่อนที่จะประกาศการค้นพบ แต่ข่าวได้รั่วไหลออกมาก่อนเนื่องจากถูกจารกรรมข้อมูลในเว็บไซต์ส่วนตัว ทำให้ต้องตัดสินใจประกาศ   2003 ยูบี 313 เป็นรหัสที่เรียกตามข้อกำหนดของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล คาดว่าสหพันธ์ฯ จะตั้งชื่ออย่างเป็นทางการในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะพิจารณาจากชื่อที่เสนอโดยทีมผู้ค้นพบ และเนื่องจากวัตถุนี้มีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโต คาดกันว่าสหพันธ์ฯ อาจพิจารณาให้เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 10 ในระบบสุริยะ (ข่าวที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ขององค์การนาซาและสื่อมวลชนอื่น ๆ ต่างเรียกว่าดาวเคราะห์ไปแล้ว)   2003 ยูบี 313 โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 557 ปี วงโคจรเป็นรูปวงรี ขณะนี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 97 หน่วยดาราศาสตร์ และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ได้มากที่สุดด้วยระยะทาง 35 หน่วยดาราศาสตร์ (ดาวพลูโตห่างจากดวงอาทิตย์ระหว่าง 29 - 49.5 หน่วยดาราศาสตร์) ระนาบวงโคจรทำมุม 44 องศากับระนาบสุริยวิถี (ระนาบวงโคจรของโลก)